ความยาวโฟกัส ค่าเอฟ และ ช่วงความชัด ของ ช่วงความชัด

โดยทั่วไป ช่วงความชัดจะขึ้นอยู่กับ ความยาวโฟกัสของเลนส์ ค่าเอฟ และขนาดของวงความพร่าที่ยอมรับได้ โดยคำนวณได้ด้วยวิธีการดังจะเขียนถึงต่อไปนี้

เริ่มแรก ให้ทำการคำนวณระยะไฮเพอร์โฟคัล ซึ่งหมายถึงระยะห่างที่ทำให้ระยะไกลอนันต์อยู่ขอบหลังช่วงความชัดเมื่อวัตถุที่ต้องการถ่ายอยู่ในโฟกัส

ให้ H เป็นระยะไฮเพอร์โฟกัส ƒ เป็นความยาวโฟกัสของเลนส์ N คือค่าเอฟ และ c คือเส้นผ่านศูนย์กลางของวงความพร่าที่ยอมรับได้

H ≈ f 2 N c {\displaystyle H\approx {\frac {f^{2}}{Nc}}}

(นี่เป็นการประมาณเพื่อทำให้การคำนวณต่อไปง่ายขึ้น ค่าที่ละเอียดจริง ๆ ควรเป็น H = f + f 2 N c {\displaystyle H=f+{\frac {f^{2}}{Nc}}} )

ถัดมา คำนวณขอบด้านหน้าและด้านหลังของช่วงความชัดเมื่อโฟกัสวัตถุในระยะทางที่ต้องการ หากระยะห่างถึงวัตถุเป็น s ขอบด้านหน้าและด้านหลังของช่วงความชัดเป็น DN และ DF ตามลำดับ จะได้ค่าดังต่อไปนี้

D N ≈ s ( H − f ) H + s − 2 f {\displaystyle D_{N}\approx {\frac {s(H-f)}{H+s-2f}}} D F ≈ s ( H − f ) H − s {\displaystyle D_{F}\approx {\frac {s(H-f)}{H-s}}}

จากสูตรด้านบนทำให้ทราบได้ว่า

ด้วยสมบัติดังนี้ กล้องของเล่นและฟิล์มพร้อมเลนส์จำนวนมากจึงมักใช้โดยการตั้งค่าโฟกัสชัดลึก โดยไม่ใช้กลไกในการโฟกัส

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มค่ารูรับแสงมากเกินไปก็ก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นกัน เมื่อรูรับแสงถูกหุบแคบลงในระดับหนึ่ง จะทำให้เกิดภาพเบลอขึ้นมาเนื่องจากปรากฏการณ์การเลี้ยวเบนของแสงที่รูรับแสง แนวโน้มนี้จะชัดเจนมากขึ้นถ้ายิ่งขนาดของวงความพร่าที่ยอมรับได้มีขนาดเล็ก หรือเป็นตัวกล้องแบบขนาดเล็ก

ช่วงความชัดยังขึ้นกับรูปแบบฟิล์มด้วย เมื่อพยายามถ่ายภาพที่มุมรับภาพกว้างเท่ากัน ความยาวโฟกัสจะเป็นสัดส่วนกับขนาดของฟิล์มหรือเซนเซอร์รูปภาพ และเส้นผ่านศูนย์กลางของวงความพร่าที่ยอมรับได้ก็จะแปรผันตามขนาดของฟิล์มด้วยเช่นกัน ผลกระทบอย่างแรกนั้นมีผลทำให้ยิ่งขนาดฟิล์มเล็กลง ช่วงความชัดก็จะยิ่งลึกขึ้น ส่วนอย่างหลังมีผลทำให้ยิ่งขนาดฟิล์มยิ่งเล็กลง ช่วงความชัดก็จะยิ่งตื้นขึ้น ผลกระทบอย่างแรกจะมากกว่าอย่างหลัง ดังนั้นยิ่งขนาดฟิล์มเล็กลง ช่วงความชัดก็จะยิ่งลึกขึ้นเมื่อถ่ายภาพด้วยมุมรับภาพ ระยะ และค่ารูรับแสงเท่ากัน กล้องดิจิทัลมักจะใช้เซนเซอร์ภาพที่มีขนาดเล็กกว่าในกล้องฟิล์มซึ่งมีขนาดมาตรฐานอยู่ที่ 35 มม. ดังนั้นช่วงความชัดจึงลึก เหมาะสำหรับการถ่ายภาพแบบโฟกัสชัดลึก และการถ่ายภาพขยายสำหรับเก็บรายละเอียดของวัตถุที่มีความลึก (ปกติในการถ่ายภาพระยะใกล้ ช่วงความชัดมักจะตื้นและเบลอได้ง่าย)